แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หน่วย “ Ticket ทัวร์ทั่วโลก ” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Quarter.3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายข้อมูลลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ทรัพยากร ของประเทศนั้นๆ ที่ศึกษาค้นคว้าให้ผู้อื่นเข้าใจได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
3
6-10 พ.ย.60
|
โจทย์ : ภูมิศาสตร์
- ลักษณะภูมิประเทศ
-ลักษณะภูมิอากาศ
- ทรัพยากร
Key Questions :
- ถ้าอยากปีนเขาที่ดีที่สุดต้องไปที่ไหน?
- ถ้าอยากล่องแพที่ดีที่สุดต้องไปที่ไหน?
- ถ้าอยากดำน้ำที่สวยที่สุดต้องไปที่ไหน?
- ถ้าอยากปั่นจักรยานและสำรวจถ้ำที่สึกที่สุดต้องไปที่ไหน?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms : ระดมความคิดเกี่ยวกับข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แหล่งที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่นล่องแพ ดำน้ำ ฯลฯ
- Jigsaw : ศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- Round Rubin : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามกระตุ้นคิด
- Show and Share :นำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของประเทศที่ศึกษา
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- โมเดลโลก
- อุปกรณ์การทดลองการเกิดหมอก
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ปากกาเคมี/กระดาษA4/A3และปรู๊ฟ
- Ipad
|
วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ชง : ครูนำโมเดลโลกมาให้นักเรียนสังเกตและตั้งคำถาม
เชื่อม : นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับรูปโลกรวมทั้งตอบคำถามกระตุ้นการเรียนรู้
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “โมเดลโลกบอกอะไรนักเรียนบ้าง ทำไมอากาศของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามกระตุ้นการเรียนรู้
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
- ถ้าอยากปีนเขาที่ดีที่สุดต้องไปที่ไหน?
- ถ้าอยากล่องแพที่ดีที่สุดต้องไปที่ไหน?
- ถ้าอยากดำน้ำที่สวยที่สุดต้องไปที่ไหน?
- ถ้าอยากปั่นจักรยานและสำรวจถ้ำที่สึกที่สุดต้องไปที่ไหน?
เชื่อม : นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามกระตุ้นการเรียนรู้
ชง : นักเรียนคิดว่าประเทศที่นักเรียนศึกษา มีลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอาการ และมีทรัพยากรในประเทศเป็นอย่างไร?
ใช้ : นักเรียนสืบค้นข้อมูลและออกแบบการเรียนรู้ (ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ทรัพยากร และอื่นๆ)
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ใช้ : นักเรียนสร้างสรรค์ชิ้นงานในกระดาษ A3ในรูปแบบ Infographic
วันพฤหัสบดี 3 ชั่วโมง
ใช้ : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ทำไมหน้าหนาวถึงมีหมอกเกิดขึ้นเช่นเดียวกับประเทศที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร?
นักเรียนคิดว่าหมอกเกิดขึ้นได้อย่างไร เกี่ยวข้องกับฝนอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความเข้าใจ
ใช้ : นักเรียนทดลองการเกิดหมอกจากอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้และสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดการทดลองและบันทึกผลเป็นระยะ พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ครูและนักเรียนอภิปรายผลร่วมกัน
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม : ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามใน ขั้นชง
ใช้ : นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- นักเรียนสังเกตโมเดลโลก
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับรูปโลกรวมทั้งตอบคำถามกระตุ้นการเรียนรู้
- สืบค้นข้อมูลและออกแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ทรัพยากร
- สร้างสรรค์ชิ้นงานรูปแบบต่างๆในกระดาษ A3
- นำเสนอข้อมูลภูมิศาสตร์ประเทศที่ศึกษา
- ทดลองการเกิดหมอก
- สังเกตและบันทึกผล
- อภิปรายผลการทดลอง
- สรุปการเรียนรู้สัปดาห์
ชิ้นงาน
- Infographic ภูมิศาสตร์ของประเทศที่ศึกษา
- แบบบันทึกผลการทดลองการเกิดหมอก
- สรุปการเรียนรู้สัปดาห์
|
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายข้อมูลลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ทรัพยากร ของประเทศนั้นๆ ที่ศึกษาค้นคว้าให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของเรื่องที่อยากเรียนรู้
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ใช้สื่ออุปกรณ์ในห้องเรียนอย่างคุ้มค่าและเก็บรักษาได้
ทักษะการสื่อสาร
- พูดนำเสนอสิ่งที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
- สื่อสารอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชิ้นงานหัวข้อหน่วยการเรียนรู้ได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการชิ้นงานของเพื่อนในการตอบคำถามได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้ปัญหาในการทำงานได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์และกระบวรการเกิดหมอกได้
คุณลักษณะ :
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
|
ในสัปดาห์นี้ได้มีการปรับเปลี่ยนแผนการสอน โดยให้พี่ๆเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์กายภาพ และแบ่งกลุ่มศึกษา 4 กลุ่มคือ บรรยากาศภาค ธรณีภาค อุทกภาค และชีวภาค โดยสรุปความเข้าใจในกระดาษ A3 และเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์มนุษย์ซึ่งครูให้โจทย์พี่ๆแต่ละคนตามประเทศที่ศึกษา เช่น ญี่ปุ่นประเทศแห่งความสะอาดและความเป็นระเบียบ บลาซิลเมืองแห่งความรักเสียงดนตรี เป็นต้น
ด้านผู้เรียน ในสัปดาห์นี้เห็นปรากฏการณ์ใหม่ระหว่างการเรียนรู้ พี่ๆทำคนช่วยเหลือกันในกลุ่ม ทำงานและแบ่งหน้าที่กันชัดเจน และได้ฝึกซ้อมการเสนอให้กันและกัน อธิบายความหมายและข้อมูลของงานให้เพื่อนที่ยังไม่เข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้น เห็นความกระตือรือร้นและตั้งใจทำงาน
จะดีกว่านี้...พี่ๆใช้สรุปความเข้าใจถ่ายคลิปเพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเพจเวฬุการ
ด้านครู ประทับพี่ๆที่ตั้งใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ละคนมีมุมในการทำงานของตนเองเพื่อเขียน อีกคนนึ่งวาด อีกคนอธิบายงาน และตอบคำถามของเพื่อนๆในการนำเสนองานได้
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น พี่ๆส่งงานตรงเวลาและช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่
จะดีกว่านี้ถ้า ครูศึกษาภูมิศาสตร์มนุษย์ของแต่ละประเทศอย่างละเอียดเพื่อเป็นแนวทางแนะนำพี่ๆได้
ด้านผู้เรียน ในสัปดาห์นี้เห็นปรากฏการณ์ใหม่ระหว่างการเรียนรู้ พี่ๆทำคนช่วยเหลือกันในกลุ่ม ทำงานและแบ่งหน้าที่กันชัดเจน และได้ฝึกซ้อมการเสนอให้กันและกัน อธิบายความหมายและข้อมูลของงานให้เพื่อนที่ยังไม่เข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้น เห็นความกระตือรือร้นและตั้งใจทำงาน
จะดีกว่านี้...พี่ๆใช้สรุปความเข้าใจถ่ายคลิปเพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเพจเวฬุการ
ด้านครู ประทับพี่ๆที่ตั้งใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ละคนมีมุมในการทำงานของตนเองเพื่อเขียน อีกคนนึ่งวาด อีกคนอธิบายงาน และตอบคำถามของเพื่อนๆในการนำเสนองานได้
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น พี่ๆส่งงานตรงเวลาและช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่
จะดีกว่านี้ถ้า ครูศึกษาภูมิศาสตร์มนุษย์ของแต่ละประเทศอย่างละเอียดเพื่อเป็นแนวทางแนะนำพี่ๆได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น